Friday 5 June 2015

[Mini Project]วิทยุ FM อัจฉริยะ : ตอนที่ 5 สรุปผลการทำงานของระบบ

สรุปกระบวนการทำงานทั้งหมด

       จากการออกแบบที่ได้มาจะแบ่งผลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

                    1. ส่วนของแอพพลิเคชั่น

                           1.1 ไอคอนของแอพพลิเคชั่น

                            1.2 หน้าหลัก



ส่วนประกอบของหน้าจอหลักในแอพพลิเคชั่นจะมี
6 ส่วนต่างๆดังนี้
1.ส่วนแสดงคลื่นวิทยุที่กำลังเล่นอยู่ ซึ่งเมื่อแตะที่
ส่วนนี้จะมีแป้นพิมพ์เพื่อให้ผู้ใช้ป้อนคลื่นความถี่ได้
2.ปุ่ม Change Frequency มีหน้าที่เมื่อผู้ใช้ป้อนค่า
คลื่นความถี่ที่ต้องการแล้วต้องกดปุ่มนี้เพื่อยืนยัน
การเปลี่ยนค่า
3.Slider Bar เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ไว้เปลี่ยนคลื่นวิทยุ
เมื่อผู้ใช้เลื่อนแถบ
4.ปุ่ม Seek Up Frequency เป็นส่วนที่ทำหน้าที่
หาคลื่นวิทยุอัตโนมัติเป็นการหาคลื่นวิทยุที่อยู่ถัดไป
5.ปุ่ม Seek Down Frequency เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หา
คลื่นวิทยุอัตโนมัติเป็นการหาคลื่นวิทยุที่อยู่ก่อนหน้า
6. Volume Slider bar เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ไว้ลด/เพิ่ม
ระดับเสียงเมื่อผู้ใช้เลื่อนแถบ



         



    หากผู้ใช้ต้องการเปลี่ยน IP Destination , Port Destination หรือ My Port สามารถทำได้โดยกดตรงปุ่ม option ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง






                    2. ส่วนของบอร์ด NUCLEO

                          ในส่วนของวงจรที่ได้ออกแบบวงจรไว้ผลที่ได้จะเป็นวงจรดังรูปด้านล่าง



 และเมื่อนำออสซิลโลสโคปมาวัดสัญญาณเอาต์พุตที่ข R-OUT หรือ L- OUT ของโมดูล FM Receiverที่ได้ โดยปรับให้ค่า Volume = 0 และ Volume = 18 สัญญาณที่ได้จะมีลักษณะดังภาพด้านล่างนี้


Volt/Div = 50 mV Time/Div = 200 ms Volume = 0          
Volt/Div = 200 mV Time/Div = 200 ms Volume = 18
             

ซึ่งผลกการทดลองใช้งานวงจรสามารถชมได้จากคลิปวิดีโอด้านล่างนี้




สรุปผลการทำงาน
            สำหรับผลการทำงานที่ได้โมดูลต่างๆสามารถทำงานได้ตรงตามที่ต้องการโดยแอนดรอยด์แอพพลิเคชั่นสามารถส่งข้อมูลที่ใช้รูปแบบ  UDP โดยทำการติดต่อผ่าน  Ethernet Module ENC28J60 มายังบอร์ด  STM32-NUCLEO-F401RE  เพื่อให้บอร์ด  NUCLEO ไปควบคุมโมดูล  FM Receiver SPK-TFM-1010 ซึ่งเป็นตัวรับคลื่นวิทยุแล้วส่งเอาต์พุตออกไปทางลำโพง ซึ่งฟังก์ชันบนแอนดรอยด์แอพพลิ-เคชั่นต่างๆมีดังนี้
  1. ฟังก์ชันเปลี่ยนคลื่นวิทยุโดยการใส่ค่าความถี่ในหน่วน  MHz   หรือปรับโดยใช้แถบสไลด์
  2. ฟังก์ชันการปรับเสียงสามารถปรับได้ทั้งหมด  18  ระดับ
  3. ฟังก์ชันค้นหาสถานีที่อยู่ก่อนหน้าหรือถัดไปโดยอัตโนมัติ           





บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 010123120 Embedded System Design Lab 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

No comments:

Post a Comment